วันพฤหัสบดีที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2553

The Nature of Science Grade 6-8

A. Scientific Inquiry grade 6-8
ในระดับนี้นักเรียนต้องการที่จะเรียนในรูปแบบของการเป็นระบบและทันสมัย รวมทั้งเป็นการสืบเสาะหาความรู้ ต้องการเข้าใจโดยการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ดี การสอนต้องการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของแนวคิดความรู้แต่ผลของการลงมือปฏิบัตินั้นทำได้ยาก นักเรียนสามารถจะเป็นผู้นำได้ อย่างไรก็ตามการมีส่วนร่วมในการทดลองและการอภิปรายอย่างชัดเจน เพื่อที่อธิบายความสัมพันธ์ของรูปแบบการทดลอง นักเรียนจะต้องใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ ระบบแนวคิดของการเรียนวิทยาศาสตร์ต้องมีอยู่ในหลักสูตร ซึ่งนักเรียนไม่สามารถที่จะศึกษาแนวคิดทั้งหมดตามที่ต้องการจะเรียนได้หรือ จากการสังเกตประสบการณ์ที่พวกเขาได้เผชิญ ทั้งหมดจากการทดลองเพียงอย่างเดียวได้ แม้ว่าการสืบเสาะหาความรู้จะช่วยให้นักเรียนเข้าใจกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้ แต่นักเรียนก็ต้องนำความรู้จากประสบการณ์เดิม และจากการอ่านมาใช้ด้วย ซึ่งในระดับนี้เป็นเหมาะที่จะเรียนรู้ประวัติของนักวิทยาศาสตร์ที่ได้ค้นพบความรู้ต่างๆ ไม่เพียงแต่นักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงในโลกเท่านั้น แต่ยังรวมถึงนักวิทยาศาสตร์ที่มีความแตกต่างทางด้านพื้นความรู้ อายุ วัฒนธรรม สถานที่และเวลา
เมื่อจบเกรด 8 นักเรียนควรรู้เกี่ยวกับ
1. นักวิทยาศาสตร์มีความแตกต่างกันในการศึกษาปรากฏการณ์ของแต่ละวิชา และมีวิธีการทำงานแตกต่างกันในแต่ละสาขา
2. การสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์นำไปสู่การเก็บสะสมข้อมูลที่มีความสัมพันธ์โดยใช้เหตุผล จินตนาการในการหาสมมติฐาน และการอธิบายการเก็บข้อมูลอย่างสมเหตุสมผล
3. ถ้ามีตัวแปรเปลี่ยนแปลงไปมากกว่า 1 ตัว เวลาทดลอง ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นอาจจะไม่ชัดเจนเนื่องมาจากตัวแปรที่เปลี่ยนไป ซึ่งอาจจะเกิดจากไม่สามารถควบคุมตัวแปรภายนอกมีอิทธิพลได้
4. การทำงานร่วมกันระหว่างผู้ที่สืบเสาะหาความรู้ พวกเขาเป็นผู้นำในการออกแบบการวิจัยหรือทดลองได้เสมอ สามารถจัดการกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ โดยอาจจะไม่สามารถควบคุมตัวแปรต่าง ๆได้ทั้งหมด
5. สิ่งที่คนอื่นคาดหวังในการสำรวจสิ่งต่าง ๆ คือ เรื่องของผลที่เกิดขึ้นว่า พวกเขาได้ทำการสำรวจกันจริง ๆ หรือไม่เกี่ยวกับผลที่เกิดขึ้น
6. นักวิทยาศาสตร์ทราบเกี่ยวกับข้อเสียของสิ่งที่คาดคะเนไว้ล่วงหน้า และเขาได้พยายามทำตามขั้นตอนเมื่อได้ออกแบบการสำรวจและทดสอบข้อมูล สิ่งหนึ่งที่แตกต่างกันในการสืบเสาะหาความรู้ในการดำเนินการ คือ การเรียนด้วยตนเอง
B. The Scientific Worldview grade 6-8
วัยรุ่นมีความสนใจในสิ่งที่ลงมือปฏิบัติได้มากกว่าปรัชญา พวกเขามีส่วนรวมในการหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และสะท้อนมุมมองทางวิทยาศาสตร์ ยังไม่สายเกินไปที่วัยรุ่นจะเริ่มต้นจัดการกับปัญหาเกี่ยวกับความคงทนของความรู้วิทยาศาสตร์ เขาควรได้รับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มมากขึ้น บางครั้งผลของการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์จะทำให้ได้ข้อมูลใหม่ๆ ซึ่งอาจทำให้คิดค้นทฤษฎีที่ดีกว่าเดิม
หลังจากเรียนจบกรด 8 นักเรียนควรเรียนรู้เกี่ยวกับ
1. เมื่อศึกษาในสิ่งเดียวกันอาจได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน ซึ่งการขัดแย้งนี้จะตัดสินได้ว่าสิ่งใดสำคัญหรือไม่สำคัญ และสิ่งนี้จะต้องศึกษาต่อ
2. เมื่อมีผลที่คล้ายคลึงกัน นักวิทยาศาสตร์จะรอจนกระทั่งมีการสืบสวนซ้ำหลายครั้งก่อนที่จะยอมรับผลว่าถูกต้อง
3. ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มีการเปลี่ยนแปลงหากมีการสังเกตครั้งใหม่ ซึ่งทำให้ได้แนวคิดหรือทฤษฎีใหม่ๆตามมา
4. ความรู้ทางวิทยาศาสตร์บางอย่างอาจจะเก่ามาก แต่ก็ยังเป็นที่ยอมรับในปัจจุบัน
5. เรื่องบางอย่างไม่สามารถอธิบายด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ และเรื่องในธรรมชาติบางเรื่องไม่สามารถตรวจสอบได้โดยวิธีการสังเกต
6. บางครั้งวิทยาศาสตร์จะใช้ในการอธิบายการตัดสินใจทางจริยธรรม ซึ่งชี้ให้เห็นว่าการกระทำมีความสำคัญ แต่วิทยาศาสตร์ไม่สามารถใช้ตัดสินการกระทำว่าถูกหรือผิดจริยธรรมได้
C. The Scientific Enterprise
เมื่อเรียนจบเกรด 8 นักเรียนควรทราบว่า
1. สิ่งที่สนับสนุนในความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี คือ ความแตกต่างกันของคนในวัฒนธรรมที่แตกต่างกันและเวลาที่ต่างกัน
2. สตรีและชนกลุ่มน้อยซึ่งมีข้อจำกัดในการศึกษาและโอกาสการจ้างงานของสถานประกอบการ
3. ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ หรือสิ่งประดิษฐ์ที่สร้างทำให้ทุกคนอยู่บนโลกนี้ได้
4. นักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานในวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย ธุรกิจและอุตสาหกรรม โรงพยาบาลและหน่วยงานต่างๆของรัฐหลาย ซึ่งล้วนประกอบด้วยสำนักงาน ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ, ฟาร์ม, โรงงาน, ตั้งอยู่บนผืนแผ่นดินตลอดจนมหาสมุทร
5.ในการวิจัยเกี่ยวกับมนุษย์ จริยธรรมของวิทยาศาสตร์กำหนดให้ทราบเกี่ยวกับความเสี่ยงและผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและมีสิทธิที่จะปฏิเสธที่จะเข้าร่วมวิจัย เพราะสัตว์ไม่สามารถให้ข้อมูลได้ ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ
6.จริยธรรมทางวิทยาศาสตร์ คือ นักวิทยาศาสตร์ต้องไม่ทราบเรื่องของผู้ร่วมงาน นักเรียนหรือชาวชุมชนเพื่อสุขภาพหรือทรัพย์สิน โดยไม่มีความรู้เดิมและได้รับความยินยอม
7. คอมพิวเตอร์ได้กลายเป็นสิ่งสำคัญทางวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีเพราะความเร็วและขยายความสามารถของผู้คนในการรวบรวม จัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ทำรายงานการวิจัยและแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกันทั่วโลก
8. การเก็บบันทึกข้อมูล, การเปิดกว้างและการจำลองเป็นสิ่งจำเป็นในการรักษาความน่าเชื่อถือของนักวิทยาศาสตร์และสังคม
9. ความสนใจและมุมมองส่วนบุคคลของนักวิทยาศาสตร์จะมีผลต่อคำถามที่เขาศึกษา
10.นักวิทยาศาสตร์ได้มีการเชื่อมโยงกับนักวิทยาศาสตร์อื่น ๆ ทั่วโลกทั้งส่วนตัวและผ่านหน่วยงานทางวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติ

วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2553

The Nature of Science


ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์
ความรู้วิทยาศาสตร์ เกิดจากความพยายามของมนุษย์ที่จะเชื่อมโยงโลกทางกายภาพ ชีวภาพ จิตวิทยาและสังคมเข้าไว้ด้วยกัน ความรู้วิทยาศาสตร์นี้จึงได้รับการพัฒนาภายใต้แนวคิดทางสังคม ปรัชญา และจิตวิทยาที่มนุษย์มีต่อการศึกษา การใช้และการอธิบายความรู้ที่ได้ค้นพบ การอธิบายถึงวิทยาศาสตร์ทั้งในด้านของความหมาย วิธีการได้มาซึ่งความรู้วิทยาศาสตร์ และการพัฒนาความรู้วิทยาศาสตร์
การเปรียบเทียบกับ ธรรมชาติวิทยาศาสตร์ 8 ข้อที่นักวิจัยหลาย ๆ คนเห็นว่าเป็นประโยชน์และนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน ดังนี้
1. Empirical NOS: Scientific knowledge based on natural phenomena, evidence, data, information, and observation วิทยาศาสตร์คือการศึกษาปรากฏการณ์ธรรมชาติโดยใช้ข้อมูล หลักฐาน และการสังเกตเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์
2. Tentative NOS: Scientific knowledge is subject to change and never absolute or certain;ข้อ 2 ชัดเจนมาก เพราะความรู้ทางวิทยาศาสตร์เปลี่ยนแปลงได้
3. Inferential NOS: The crucial distinction between scientific claims (e.g., inferences) and evidence on which such claims are based (e.g., observations); ข้อนี้หมายความว่าเราต้องลงข้อสรุป จากข้อมูลที่ได้จากการสังเกตหรือการทดลองเพื่อให้ได้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ พูดง่าย ๆ คือว่า ความรู้ที่ได้ต้องอาศัยทั้งการสังเกตโดยตรงและการอนุมานจากข้อมูลเหล่านั้น
4. Creative NOS: The generation of scientific knowledge involves human imagination and creativity;ไอน์สไตน์เคยบอกไว้ว่า จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ การทำงานของนักวิทยาศาสตร์ต้องใช้ทั้งจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ โดยทฤษฎีอะตอมและ การค้นพบโครงสร้าง DNA เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับ Aspect ข้อนี้
5. Theory-laden NOS: Scientific knowledge and investigation are influenced by scientists’ theoretical and disciplinary commitments, beliefs, prior knowledge, training, experiences, and expectations; อันนี้จะเกี่ยวข้องกับนักปรัชญา Carl Poper และ Thomas Kuhn กล่าวคือ การการทำงานของนักวิทยาศาสตร์จะขึ้นอยู่กับ กระบวนทัศน์ (Paradigm) ความรู้ ความเชี่ยวชาญ ความเชื่อ การฝึกฝน ความชำนาญ ดังนั้น วิทยาศาสตร์อาจจะไม่ได้เป็น ปรนัย (objective) เสมอไปข้อนี้อาจตอบคำถามหลาย ๆ คนว่าทำไมเวลาทำวิจัยต้องมีการ Review Literature ด้วย คำตอบก็คือ เพื่อที่จะได้กำหนดทิศทางงานวิจัยภายใต้ Theoretical framework เพื่อให้เราโฟกัสได้ตรงจุดนั่นเอง
6. Social and cultural NOS: Science as a human enterprise is practiced within, affects, and is affected by, a lager social and cultural milieu;วิทยาศาสตร์เกี่ยวพันกับสังคม วัฒนธรรม บรรทัดฐาน หรือแม้แต่การเมือง ยกตัวอย่างง่าย ๆ คือ การเมืองและสงครามเย็นส่งผลให้อเมริกาต้องเร่งพัฒนาความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างเร่งด่วนมาแล้ว ในยุคต้นๆ ของ NASA
7. Myth of the “Scientific Method”: The lack of a universal step-wise method that guarantees the generation of valid knowledgeการค้นคว้าสืบเสาะหาความรู้ไม่ได้มีใครมาเขียนข้อ 1 2 3 เหมือนคู่มือปฏิบัติการ เพราะโลกที่แท้จริง นักวิทยาศาสตร์ใช้วิธี สืบเสาะหาความรู้ (Inquiry) มากมายหลายรูปแบบไม่ใช่แค่ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 5 ขั้นเท่านั้น
8. Nature of scientific theories and law: Nature of, and distinction between scientific theories and laws. Scientific theories and laws are different kinds of knowledge (e.g., lack of a hierarchical relationship between theories and laws). สมมติฐานไม่ได้กลายเป็นทฤษฎี และทฤษฎีก็ไม่ได้กลายเป็นกฎ ทั้งหมดเป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ต่างกัน เพราะมีที่มาต่างกัน
ลักษณะธรรมชาติวิทยาศาสตร์ 8 ข้อนี้ จะสอดคล้องกับเอกสารทางวิจัยหลาย ๆ ชิ้นที่นักวิจัยยอมรับ และสอดคล้องกลับเอกสารหลักสูตรของอเมริกาที่สำคัญ เช่น Science for All Americans, Benchmark for science literacy คราวหน้าเราจะมาพูดกันต่อถึง มาตรฐานที่กำหนดไว้เกี่ยวกับ ธรรมชาติวิทยาศาสตร์ของไทย คือ สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้วิทยาศาสตร์ (Scientific knowledge) เนื่องจากความรู้วิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นจากการสังเกตและประสบการณ์ที่ได้รับเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ
องค์ประกอบของความรู้วิทยาศาสตร์ คือ
1. ข้อเท็จจริง (Fact)
2.ความคิดรวบยอดหรือ มโนมติ (Concept)
3.หลักการ (Principle)
4.สมมติฐาน (Hypothesis)
5. ทฤษฎี (Theory)
6. กฎ (Law)

วันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2553

พระราชบัญญัติการศึกษาหมวด 4

หมวด ๔แนวการจัดการศึกษา
มาตรา ๒๒ การจัดการศึกษาต้องยืดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ
มาตรา ๒๓ การจัดการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้
คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และบูรณาการตามความเหมาะสมในเรื่องต่อไปนี้
(๑) ความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเอง และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม
(๒) ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เรื่องการจัดการ การบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลยั่งยืน
(๓) ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทยและการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา
(๔) ความรู้ และทักษะด้านคณิตศาสตร์ และด้านภาษา เน้นการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง
(๕) ความรู้ และทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
มาตรา ๒๔ การจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน
(๒) ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
(๓) จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
(๔) จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ไว้ในทุกวิชา
(๕) ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้
(๖) จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือ ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย
มาตรา ๒๕ รัฐต้องส่งเสริมการดำเนินงานและการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ
มาตรา ๒๖ ให้สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียนโดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียนการร่วมกิจกรรมและการทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอน
มาตรา ๒๗ ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ การดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ ตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อ
มาตรา ๒๘ หลักสูตรการศึกษาระดับต่าง ๆ รวมทั้งหลักสูตรการศึกษาสำหรับบุคคลตามมาตรา ๑๐ วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ ต้องมีลักษณะหลากหลาย สาระของหลักสูตร ทั้งที่เป็นวิชาการ และวิชาชีพ ต้องมุ่งหมายพัฒนาคนให้มีความสมดุลทั้งด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ ความดีงามและความรับผิดชอบต่อสังคม
สำหรับหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษา ยังมีความมุ่งหมายเฉพาะที่จะพัฒนาวิชาการวิชาชีพชั้นสูงและการค้นคว้าวิจัย เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และพัฒนาสังคม
มาตรา ๒๙ ให้สถานศึกษาร่วมกับบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น และรู้จักเลือกสรรภูมิปัญญาและวิทยาการต่าง ๆ เพื่อพัฒนาชุมชน
มาตรา ๓๐ ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน

วันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2553

Constructivism theory

ทฤษฎี Construtivist
เป็นทฤษฎีสร้างสรรค์องค์ความรู้ด้วยปัญญา เป็นการสร้างความรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน เป็นกระบวนการซึมซับและปรับโครงสร้างทางสติปัญญา ทุกคนจะมีพัฒนาการตามลำดับขั้นจากการมีปฏิสัมพันธ์และประสบการณ์กับสิ่งแวดล้อมและสังคม ทฤษฎีนี้ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการแปลความหมายและสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์ต่างๆ
Constructivist learning intervention
1. The nature of the learner ลักษณะของผู้เรียน
1.1 The learner as a unique individual ผู้เรียนมีเอกลักษณ์เฉพาะบุคคล
นักเรียนแต่ละบุคคลจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความต้องการที่จะเรียนรู้ และประสบการณ์เดิม และโครงสร้างทางสังคม โดยใช้ข้อมูลที่ได้รับมาหรือความรู้ที่มีอยู่เดิมจากแหล่งต่างๆ มาสร้างกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน
1.2 The importance of the background and culture of the learner ความสำคัญของความรู้เดิม
และวัฒนธรรมของผู้เรียน
ความเชื่อและความรู้ของผู้เรียนจะแตกต่างกันตามลักษณะทางสังคม ภาษา ขนมธรรมเนียม และสิ่งที่นักเรียนได้พบเห็น และความรู้ต่างๆ ที่ผู้เรียนได้รับมาจากการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นและสังคมภายนอก สังคมและวัฒนธรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญในการเรียนรู้ที่ทำให้ได้ความรู้และประสบการณ์
1.3 The responsibility for learning ความรับผิดชอบในการเรียนรู้
โครงสร้างทางสังคมมีความสำคัญต่อผู้เรียน ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนรู้ โดยความรับผิดชอบนั้นขึ้นอยู่กับตัวผู้เรียนเอง ซึ่งผู้เรียนต้องมีต่อครูผู้สอนและสถานที่ ผู้เรียนสามารถสร้างความเข้าใจได้เองซึ่งเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงสิ่งที่เขาได้เรียนรู้นั่นเอง
1.4 The motivation for learning แรงจูงใจในการเรียนรู้
สิ่งที่สนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนนั้นขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง ความสามารถและความเชื่อในการแก้ปัญหาใหม่ สามารถทำได้โดยการเชื่อมโยงปัญหาในอดีต ซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่าความรู้จากภายนอกและแรงจูงใจ
2. The role of the instructor บทบาทของผู้สอน
ครูจะต้องเปลี่ยนบทบาทไปเป็นเพียงผู้อำนวยความสะดวก แนะนำ โดยครูจะสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามบทบาท ครูจะใช้คำถาม และครูบรรยายจากหนังสือ จากนั้นครูจะให้คำตอบจากหลักสูตร ผู้อำนวยความสะดวกจะสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง และสามารถสรุปได้ สิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ควรจะออกแบบให้สนับสนุนและท้าทายในการคิดของผู้เรียน และต้องให้ผู้เรียนได้แก้ปัญหาด้วยกระบวนการของตนเอง เป้าหมายที่สำคัญคือ การสนับสนุนให้ผู้เรียนกลายเป็นผู้คิดที่มีศักยภาพ และสามารถประสบความสำเร็จจากการยอมรับบทบาท เปรียบเสมือนผู้ให้คำปรึกษาและโค๊ช
ซึ่งครูผู้สอนควรปฏิบัติดังนี้
–ฝึกให้นักเรียนรู้จักการตั้งคำถาม และค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง
-การจัดการเรียนการสอนแบบ จิกซอว์ โดยแบ่งกลุ่มนักเรียนตามหัวข้อต่างๆแล้วนำมาอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน
-การจัดการเรียนรู้แบบสืบค้นข้อมูล
3. The nature of the learning process ลักษณะของกระบวนการเรียนรู้
การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสังคม ความรู้เริ่มแรกนั้นได้จากความรู้ทางสังคมที่แต่ละบุคคลได้พบเจอ องค์ความรู้ทางสังคมเป็นกระบวนการที่แบ่งปันกันระหว่างบุคคล เรียกว่า การเรียนรู้แบบร่วมมือ (collaborative elaboration) ซึ่งพบว่าผู้เรียนสามารถเข้าใจได้เช่นเดียวกัน และดีกว่าการเรียนรู้ด้วยตนเองเพียงคนเดียว กระบวนการในการเรียนรู้นั้นสิ่งที่สำคัญคือการค้นหาความรู้ แนวคิด และข้อเท็จจริงด้วยตัวพวกเขาเอง การเรียนที่เน้นให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และสิ่งแวดล้อม กระบวนการเรียนรู้นี้ไม่เพียงแต่จะเกิดขึ้นในตัวของผู้เรียนแล้วยังช่วยพัฒนาพฤติกรรมและเป็นการเรียนรู้ที่มีความหมาย เมื่อบุคคลมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม
บทบาทของผู้อำนวยความสะดวกในหลักของการสร้างองค์ความรู้ทางปัญญานี้เห็นว่า ผู้สอนและผู้เรียนต้องมีส่วนร่วมเท่าๆกัน วัฒนธรรมและความรู้เดิมเป็นสิ่งสำคัญระหว่างผู้เรียนและภาระงาน ผู้เรียนและผู้สอนควรตระหนักถึงมุมมองของกันและกันแล้วมองไปที่ความเชื่อของตัวเองและคุณค่าของ ทั้งผู้เรียนและผู้สอนจึงเป็นทั้งผู้กระทำและผู้ถูกกระทำในเวลาเดียวกัน
4. Collaboration among learners ความร่วมกันระหว่างผู้เรียน
ผู้เรียนจะมีความแตกต่างกันในทักษะและความรู้เดิม จึงควรจะทำงานร่วมกัน และร่วมกันอภิปราย เพื่อแบ่งปันความรู้ สิ่งสำคัญสำหรับการเรียนรู้ร่วมกันคือ การกำหนดระยะห่างระหว่างระดับพัฒนาการ โดยดูจากการแก้ปัญหาของแต่ละคนตามศักยภาพ ซึ่งการแก้ปัญหาภายใต้การดูแลของคำแนะนำของครูหรือจากเพื่อน เพื่อเป็นการเน้นย้ำเพื่อให้เห็นความสำคัญและรู้คุณค่า ในความรู้ที่ผู้เรียนได้เรียนรู้มา ว่าสามารถนำไปใช้อย่างไรต่อไปอีกบ้าง การประเมินคุณค่าของความรู้นั้นควรจะต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง เพื่อจะได้ทราบถึงการรับรู้การตอบสนอง และพัฒนาการของผู้เรียน
5. The selection, scope and sequencing of the subject matter ขอบเขตของการจัดการเรียนรู้
ความรู้ควรจะเป็นการค้นคว้าและบูรณาการโดยรวม ไม่ควรเรียนวิชาใดวิชาหนึ่ง สิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่จะกำหนดวิธีการและแนวคิด สังคมเป็นที่ตั้งของความจริงหรือการเรียรู้ที่นักเรียนจะใช้เวลาหนึ่งในการทำกิจกรรมผู้เรียนควรได้รับการฝึกทักษะอย่างสม่ำเสมอ ทำผู้เรียนเกิดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และมีความเชื่อมั่นในตนเอง
สรุป Construtivist theory
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้นี้จะเน้นความสำคัญของกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนและความสำคัญของความรู้เดิม เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสังเกต สำรวจเพื่อให้เห็นปัญหา มีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนด้วยการทำงานเป็นกลุ่ม องค์ความรู้จะถูกสร้างขึ้นโดยผู้เรียน และโดยเหตุผลที่ทุกคนต่างมีชุดของประสบการณ์ต่างๆ ของการเรียนรู้จึงมีลักษณะเฉพาะตน และมีความแตกต่างกันไปในแต่ละคน และครูผู้สอนจะมีบทบาทเพียงผู้อำนวยความสะดวก ช่วยสนับสนุนหรือให้คำแนะนำ เช่น กำหนดประเด็นกระตุ้นให้คิด เพื่อให้นักเรียนได้คิดและลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง