วันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2553

Constructivism theory

ทฤษฎี Construtivist
เป็นทฤษฎีสร้างสรรค์องค์ความรู้ด้วยปัญญา เป็นการสร้างความรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน เป็นกระบวนการซึมซับและปรับโครงสร้างทางสติปัญญา ทุกคนจะมีพัฒนาการตามลำดับขั้นจากการมีปฏิสัมพันธ์และประสบการณ์กับสิ่งแวดล้อมและสังคม ทฤษฎีนี้ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการแปลความหมายและสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์ต่างๆ
Constructivist learning intervention
1. The nature of the learner ลักษณะของผู้เรียน
1.1 The learner as a unique individual ผู้เรียนมีเอกลักษณ์เฉพาะบุคคล
นักเรียนแต่ละบุคคลจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความต้องการที่จะเรียนรู้ และประสบการณ์เดิม และโครงสร้างทางสังคม โดยใช้ข้อมูลที่ได้รับมาหรือความรู้ที่มีอยู่เดิมจากแหล่งต่างๆ มาสร้างกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน
1.2 The importance of the background and culture of the learner ความสำคัญของความรู้เดิม
และวัฒนธรรมของผู้เรียน
ความเชื่อและความรู้ของผู้เรียนจะแตกต่างกันตามลักษณะทางสังคม ภาษา ขนมธรรมเนียม และสิ่งที่นักเรียนได้พบเห็น และความรู้ต่างๆ ที่ผู้เรียนได้รับมาจากการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นและสังคมภายนอก สังคมและวัฒนธรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญในการเรียนรู้ที่ทำให้ได้ความรู้และประสบการณ์
1.3 The responsibility for learning ความรับผิดชอบในการเรียนรู้
โครงสร้างทางสังคมมีความสำคัญต่อผู้เรียน ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนรู้ โดยความรับผิดชอบนั้นขึ้นอยู่กับตัวผู้เรียนเอง ซึ่งผู้เรียนต้องมีต่อครูผู้สอนและสถานที่ ผู้เรียนสามารถสร้างความเข้าใจได้เองซึ่งเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงสิ่งที่เขาได้เรียนรู้นั่นเอง
1.4 The motivation for learning แรงจูงใจในการเรียนรู้
สิ่งที่สนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนนั้นขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง ความสามารถและความเชื่อในการแก้ปัญหาใหม่ สามารถทำได้โดยการเชื่อมโยงปัญหาในอดีต ซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่าความรู้จากภายนอกและแรงจูงใจ
2. The role of the instructor บทบาทของผู้สอน
ครูจะต้องเปลี่ยนบทบาทไปเป็นเพียงผู้อำนวยความสะดวก แนะนำ โดยครูจะสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามบทบาท ครูจะใช้คำถาม และครูบรรยายจากหนังสือ จากนั้นครูจะให้คำตอบจากหลักสูตร ผู้อำนวยความสะดวกจะสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง และสามารถสรุปได้ สิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ควรจะออกแบบให้สนับสนุนและท้าทายในการคิดของผู้เรียน และต้องให้ผู้เรียนได้แก้ปัญหาด้วยกระบวนการของตนเอง เป้าหมายที่สำคัญคือ การสนับสนุนให้ผู้เรียนกลายเป็นผู้คิดที่มีศักยภาพ และสามารถประสบความสำเร็จจากการยอมรับบทบาท เปรียบเสมือนผู้ให้คำปรึกษาและโค๊ช
ซึ่งครูผู้สอนควรปฏิบัติดังนี้
–ฝึกให้นักเรียนรู้จักการตั้งคำถาม และค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง
-การจัดการเรียนการสอนแบบ จิกซอว์ โดยแบ่งกลุ่มนักเรียนตามหัวข้อต่างๆแล้วนำมาอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน
-การจัดการเรียนรู้แบบสืบค้นข้อมูล
3. The nature of the learning process ลักษณะของกระบวนการเรียนรู้
การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสังคม ความรู้เริ่มแรกนั้นได้จากความรู้ทางสังคมที่แต่ละบุคคลได้พบเจอ องค์ความรู้ทางสังคมเป็นกระบวนการที่แบ่งปันกันระหว่างบุคคล เรียกว่า การเรียนรู้แบบร่วมมือ (collaborative elaboration) ซึ่งพบว่าผู้เรียนสามารถเข้าใจได้เช่นเดียวกัน และดีกว่าการเรียนรู้ด้วยตนเองเพียงคนเดียว กระบวนการในการเรียนรู้นั้นสิ่งที่สำคัญคือการค้นหาความรู้ แนวคิด และข้อเท็จจริงด้วยตัวพวกเขาเอง การเรียนที่เน้นให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และสิ่งแวดล้อม กระบวนการเรียนรู้นี้ไม่เพียงแต่จะเกิดขึ้นในตัวของผู้เรียนแล้วยังช่วยพัฒนาพฤติกรรมและเป็นการเรียนรู้ที่มีความหมาย เมื่อบุคคลมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม
บทบาทของผู้อำนวยความสะดวกในหลักของการสร้างองค์ความรู้ทางปัญญานี้เห็นว่า ผู้สอนและผู้เรียนต้องมีส่วนร่วมเท่าๆกัน วัฒนธรรมและความรู้เดิมเป็นสิ่งสำคัญระหว่างผู้เรียนและภาระงาน ผู้เรียนและผู้สอนควรตระหนักถึงมุมมองของกันและกันแล้วมองไปที่ความเชื่อของตัวเองและคุณค่าของ ทั้งผู้เรียนและผู้สอนจึงเป็นทั้งผู้กระทำและผู้ถูกกระทำในเวลาเดียวกัน
4. Collaboration among learners ความร่วมกันระหว่างผู้เรียน
ผู้เรียนจะมีความแตกต่างกันในทักษะและความรู้เดิม จึงควรจะทำงานร่วมกัน และร่วมกันอภิปราย เพื่อแบ่งปันความรู้ สิ่งสำคัญสำหรับการเรียนรู้ร่วมกันคือ การกำหนดระยะห่างระหว่างระดับพัฒนาการ โดยดูจากการแก้ปัญหาของแต่ละคนตามศักยภาพ ซึ่งการแก้ปัญหาภายใต้การดูแลของคำแนะนำของครูหรือจากเพื่อน เพื่อเป็นการเน้นย้ำเพื่อให้เห็นความสำคัญและรู้คุณค่า ในความรู้ที่ผู้เรียนได้เรียนรู้มา ว่าสามารถนำไปใช้อย่างไรต่อไปอีกบ้าง การประเมินคุณค่าของความรู้นั้นควรจะต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง เพื่อจะได้ทราบถึงการรับรู้การตอบสนอง และพัฒนาการของผู้เรียน
5. The selection, scope and sequencing of the subject matter ขอบเขตของการจัดการเรียนรู้
ความรู้ควรจะเป็นการค้นคว้าและบูรณาการโดยรวม ไม่ควรเรียนวิชาใดวิชาหนึ่ง สิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่จะกำหนดวิธีการและแนวคิด สังคมเป็นที่ตั้งของความจริงหรือการเรียรู้ที่นักเรียนจะใช้เวลาหนึ่งในการทำกิจกรรมผู้เรียนควรได้รับการฝึกทักษะอย่างสม่ำเสมอ ทำผู้เรียนเกิดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และมีความเชื่อมั่นในตนเอง
สรุป Construtivist theory
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้นี้จะเน้นความสำคัญของกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนและความสำคัญของความรู้เดิม เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสังเกต สำรวจเพื่อให้เห็นปัญหา มีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนด้วยการทำงานเป็นกลุ่ม องค์ความรู้จะถูกสร้างขึ้นโดยผู้เรียน และโดยเหตุผลที่ทุกคนต่างมีชุดของประสบการณ์ต่างๆ ของการเรียนรู้จึงมีลักษณะเฉพาะตน และมีความแตกต่างกันไปในแต่ละคน และครูผู้สอนจะมีบทบาทเพียงผู้อำนวยความสะดวก ช่วยสนับสนุนหรือให้คำแนะนำ เช่น กำหนดประเด็นกระตุ้นให้คิด เพื่อให้นักเรียนได้คิดและลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น